วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การขยายพันธุ์บานเย็น
เวลาจากเพาะเมล็ดจนให้ดอก
3 เดือนครึ่งถึง 4 เดือน
บานเย็นมีดอกรูปแตร เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 1 นิ้ว คอดอกยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว มีสีต่างๆ เว้น
สีฟ้า บางพันธุ์มลายด่างสีขาวในกลีบดอก ต้นเป็นพุ่ม บานเย็นชอบดินเบา ระบายน้ำดี ที่ปลูกควรมีแดด
จัด แต่ถ้าเป็นใต้ร่มไม้ก็ให้ดอกได้ หรือถ้าที่ปลูกเป็นดินเลวก็ทนได้ ที่จริงบานเย็นเป็นไม้ยืนต้นที่นำมา
ปลูกกันเป็นไม้ล้มลุก บานเย็นมีรากเป็นหัวเช่นเดียวกับรักเร่ การขยายพันธุ์ทำได้โดยแบ่งรากให้มีตาติด
แล้วนำไปปลูกจะได้ต้นใหม่ ถ้าปลูกด้วยหัวจะโตเร็วและให้ดอกดกกว่าปลูกจากเมล็ด เมล็ดของบานเย็น
มีขนาดใหญ่เมื่อตกลงบนดินจะงอกแทนต้นเดิมได้ง่าย หัวของบานเย็นนำมานึ่งหรือต้มกินได้เช่นเดียว
กับหัวเผือก
ประโยชน์ของบานเย็น
ประโยชน์ของบานเย็น
- ต้นไม้บานเย็น นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยเฉพาะต้นที่มีดอกสีชมพู และดอกขาว[1]
- แป้งจากเมล็ดใช้ทารักษาสิว ฝ้า ลบรอยด่างดำบนใบหน้าได้ โดยภายในเมล็ดจะมีแป้งสีขาวเป็นผงละเอียด หญิงไทยในอดีตจะนำมาใช้ผัดหน้า ให้ผิวสวย และไม่เป็นสิว นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าหญิงชาวจีนและญี่ปุ่นก็เคยใช้แป้งชนิดนี้เพื่อผัดหน้าแก้สิวเช่นกัน[4],[5]
- เมล็ดของบานเย็นบางสายพันธุ์ เมื่อนำมาบดละเอียดเป็นผงแล้วสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสีย้อม ในเครื่องสำอาง[7]
- ผงจากรากนำมาใช้ผสมกับแป้งข้าวเจ้า และผงไม้จันทน์ นำมาทำเป็นเครื่องสำอางได้[6]
- ใบบานเย็น สามารถรับประทานแบบสุกได้ แต่ควรรับประทานเมื่อยามจำเป็นเท่านั้น[7]
- ดอกนิยมนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหาร โดยจะให้สีแดงเข้ม ซึ่งมักนำมาใช้ในการแต่งสีเค้กและเจลลี่[7]
- เมล็ด ราก และยอดอ่อน มีสาร Mirabilis antiviral proteins (MAPs) ที่ช่วยปกป้องพืชจากพวกไวรัสที่ก่อโรคในพืชและเชื้อราบนดินได้ มีประสิทธิภาพในการช่วงป้องกันพืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้หายชนิด เช่น ข้าวโพด ยาสูบ จาก มันฝรั่ง เป็นต้น[9]
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรบานเย็น
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรบานเย็น
- เมล็ดบานเย็นส่วนใหญ่จะมีความเป็นพิษมาก (สาร Neurotoxic) ไม่ควรนำมารับประทานหากได้รับพิษอาจทำให้เกิดอาการอาเจียนและมีอาการท้องเสีย หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้[8],[9]
- ไม่ควรใช้สมุนไพรบานเย็นในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีรายงานพบว่ามันทำให้เกิดการแท้งบุตรได้[9]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบานเย็น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบานเย็น
- สารสกัดที่ได้จากใบ (เรซิน) มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ และมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย[6]
- ส่วนรากก็มีสารเรซินที่มีฤทธิ์ระคายเยื่อเมือก เยื่อบุผนังลำไส้[6]
- ดอกมีกลิ่นหอมฉุน อาจทำให้เกิดอาการมึนเมาได้ จึงสามารถใช้ไล่ยุงและแมลงได้[6]
- น้ำสกัดจากใบหรือทั้งต้น เมื่อนำมาใส่เอทานอลลงไปจะตกตะกอน แล้วกรองเอาน้ำสกัดที่ได้จะมีตัวยาเทียบเท่ากับยาสด เมื่อนำมาใช้ฉีดกระต่าย มีผลทำให้หัวใจกระต่ายเต้นเร็วขึ้นมีการบีบตัวแรงขึ้น แต่กลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว เมื่อนำมาฉีดเข้าไปในหลอดเลือนแมว พบว่ามีความดันเลือดสูงขึ้นประมาณ 75% และจะกลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ฤทธิ์ดังกล่าวจะไม่มีผลอะไรต่อลำไส้เล็กของหนูตะเภา ส่วนลำไส้เล็กของกระต่ายจะมีผลเป็นการยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้เล็ก และจากการตรวจสอบทางเคมีของน้ำสกัดจะไม่พบสารอัลคาลอยด์[6]
- นักวิจัยฮ่องกงได้ทำการแยกสาร MAPs อีกตัวหนึ่งที่อยู่ในรากของบานเย็น โดยพบว่ามีฤทธิ์เป็น Antiviral และยังพบว่ามีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนู, ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ยับยั้งการเจริญเติบโตของ Tumor cell และรบกวนกระบวนการอื่นๆ ในเซลล์ของไวรัส และยังพบว่าในส่วนของเมล็ดมี Peptide บางชนิดที่มีฤทธิ์คล้ายกับพิษแมงมุม[9]
- ในปี 2001 นักวิจัยได้ค้นพบสารประกอบ Phenolic ที่มีฤทธิ์ต้าน Candida albican เมื่อทดลองในหลอดทดลอง และจากการสกัดดอก ใบ และรากด้วยน้ำร้อนจะได้สารที่ออกฤทธิ์เป็น Antifungal ในการทดลองอื่นๆ และในการวิจัยอื่นๆ ในส่วนของใบบานเย็นและกิ่งก้านของต้นไม่มีการยืนยันว่ามีฤทธิ์ Antimicrobial ดังนั้นคุณสมบัตินี้อาจมีอยู่แค่เพียงในรากเท่านั้น[9]
- สารสกัดจากส่วนรากด้วยน้ำและ Ethanol จะแสดงฤทธิ์ Mild uterine stimulant ในหนูทดลอง และ Antispasmodic ใน Guinea pigs[9]
สรรพคุณของบานเย็น
สรรพคุณของบานเย็น
- ช่วยแก้ไข้ ระงับความร้อนในร่างกาย (หัว)[1],[5],[6]
- หัวบานเย็น ใช้รับประทานเป็นยาขับเหงื่อ (หัว)[1],[5],[6]
- สรรพคุณบานเย็น หัวหรือรากช่วยแก้โรคเบาจืด (หัว)[5]
- สรรพคุณดอกบานเย็น ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กระอักเลือด (ดอก,หัว)[5],[6] ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 120 กรัม นำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกินแก้อาการ[6]
- ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้รากหรือหัวสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้กวาดคอ (หัว)[5],[6]
- หัวหรือรากบานเย็น มีสาร “Alkaloid Trigonelline” ที่มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบาย (หัว)[1],[7]
- ช่วยขับปัสสาวะ (หัว,ใบ)[5],[6]
- เชื่อว่ารากหรือหัวของบานเย็นมีสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถนะทางเพศได้ (หัว)[7]
- ใบนำมาใช้ภายในเป็นยารักษาโรคหนองในได้ หรือจะใช้รากหรือหัวจากต้นดอกสีขาวนำมาหั่นเป็นแผ่น ผสมกับโป่งรากสน นำมาต้มกินก่อนอาหารวันละ 2 เวลา (หัว,ใบ)[6]
- ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ด้วยการใช้รากหรือหัวจากต้นดอกสีขาวนำมาหั่นเป็นแผ่น ผสมกับโป่งรากสน นำมาต้มกินก่อนอาหารวันละ 2 เวลา (หัว)[5],[6]
- ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ (หัว)[7]
- น้ำคั้นจากใบใช้ชะล้างบาดแผล หรือแผลฟกช้ำให้หายเร็วยิ่งขึ้นได้ (ใบ)[6]
- ใบสดนำมาตำพอก หรือคั้นเอาแต่น้ำมาทาเป็นยารักษากลากเกลื้อน (ใบ)[1],[5],[6]
- ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปอุ่นไฟให้ร้อนพอทนได้ นำมาใช้พอกรักษาฝี แผลมีหนองต่างๆ ช่วยทำให้หนองออกมา แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (ใบ)[1],[5],[6]
- ช่วยรักษาแผลเรื้อรังได้ (ใบ,หัว)[5] หากเป็นแผลเรื้อรังบริเวณหลังให้ใช้รากหรือหัวสดจากต้นดอกสีแดง ผสมกับน้ำตายทรายแดงพอประมาณ นำมาตำแล้วพอก และให้หมั่นเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง[6] และหัวยังช่วยรักษาหนองได้อีกด้วย (หัว)[5]
- แป้งจากเมล็ดใช้รักษาแผลมีน้ำเหลือง ผิวหนังพองมีน้ำเหลือง ด้วยการใช้เมล็ดนำมาแกะเอาเปลือกออก แล้วเอาแป้งมาบดเป็นผงให้ละเอียด นำใช้ทาถูภายนอก (เมล็ด)[5],[6]
- น้ำคั้นจากใบ ใช้ทารักษาผื่นแดงที่มีอาการคัน ใช้ทาช่วยบรรเทาอาการคัน และยังลดอาการแสบร้อนได้ด้วย (ใบ)[1],[5],[6]
- ใบบานเย็น สรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบได้ (ใบ)[7]
- ช่วยแก้บวม แก้อักเสบ (หัว)[5]
- รากหรือหัวจากต้นดอกสีแดง นำมาใช้รักษาอาการปวดตามข้ออย่างเฉียบพลันได้ ด้วยการเอาขาหมู หรือเต้าหู้ นำมาต้มกิน (หัว)[6]
- หัวใช้รับประทานจะทำให้ผิวหนังชา อยู่คงกระพันเฆี่ยนตีแล้วไม่แตกกลับทำให้รู้สึกคัน (หัว)[1]
ลักษณะของบานเย็น
ลักษณะของต้นบานเย็น
- ต้นบานเย็น เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนมีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร มีลำต้นสีแดง ออกนวลเล็กน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่ายขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ควรปลูกไวกลางแจ้งและดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
- รากบานเย็น มีลักษณะพองเป็นหัว หรือเรียกว่าเหง้า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร[5]
- ใบบานเย็น ใบออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามลำต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปใบหอก หรือเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขนประปราย ใบมีความกว้างประมาณ 2-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบเป็นสีเหลืองอ่อน เห็นได้ชัดเจน และก้านใบมีความยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร[1],[2],[3] โดยในใบจะประกอบด้วยสาร B-sitosterol, 12-tricosanone, n-hexacosanol, กรดไขมัน (Tetracosanoic acid), กรดอะมิโน (Alanine, Glycine, Leucin, Tryptophan, Valine), และกรดอินทรีย์ (Citric acid, Tartaric acid)[6]
- ดอกบานเย็น ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกติดกันเป็นกลุ่มๆ ลักษณะของดอกที่ยังไม่บานจะเป็นรูปหลอด เมื่อดอกบานจะเป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ โดยดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบประดับเป็นรูประฆังติดอยู่ที่ฐาน มีความประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเกือบไร้ก้าน แต่ละช่อดอกมีดอกอยู่ประมาณ 4-5 ดอก ดอกจะบานเย็นเรื่อยไปจนถึงตอนเช้าแล้วจะหุบ ส่วนวงกลีบหรือกลีบดอกมีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก เช่น ดอกสีชมพู สีม่วง สีแดง สีขาว สีเหลือง สีส้ม สีด่าง หรือแม้กระทั่งมีสองสีในดอกเดียวกัน มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร โดยปากกลีบจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ยื่นยาวออกมาประมาณ 1 เซนติเมตร มีก้านเกสรเป็นสีแดง ส่วนอับเรณูมีลักษณะเป็นทรงกลม รังไข่เป็นรูปรี ส่วนก้านเกสรตัวเมียจะยาวเท่ากับก้านเกสรตัวผู้ และมีสีแดง ปลายเกสรเป็นตุ่ม เป็นพูตื้นๆ และสามารถออกดอกได้ตลอดปี[1],[2],[4],[5] โดยในดอกจะสารจำพวกฟลาโวนอยด์ และสาร Betaxanthins[6]
- ผลบานเย็น หรือ เมล็ดบานเย็น มีลักษณะทรงกลม มีสีดำ ผิวขรุขระหยาบๆ มีขนาดยาวประมาณ 0.5-0.9 เซนติเมตร เปลือกบาง มีสัน 5 สัน ภายในจะมีแป้งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยประกอบไปด้วยไขมันประมาณ 4.3%, linolenic acid ประมาณ 15.1% และยังประกอบด้วยสาร Kaempferol glycoside และสาร Quercetin[1],[3],[6]
ความหมายของดอกบานเย็น
บานเย็น
บานเย็น ชื่อสามัญ Marvel of peru, Four o’clocks, False Jalap บานเย็น ชื่อวิทยาศาสตร์ Mirabilis jalapa Linn. จัดในอยู่ในวงศ์NYCTAGINACEAE และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น บานเย็น (ทั่วไป), จำยาม จันยาม ตามยาม (ภาคเหนือ), ตีต้าเช่า (จีน), จีปักหลี (จีน-แต้จิ๋ว) เป็นต้น โดยต้นบานเย็นนั้นมีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู เม็กซิโก อเมริกากลาง และมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ และบางครั้งอาจขึ้นเป็นวัชพืช[1],[2],[6]
คำว่า Mirabilis เป็นภาษาละตินที่มีความหมายว่า “สวยงาม” ส่วนคำว่า Jalapa นั้นเป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก จุดเด่นของดอกไม้ชนิดนี้ก็คือดอกจะบานในช่วงบ่ายแก่ๆ หรือในช่วงเย็นเป็นต้นไป จึงเป็นที่มาของชื่อไทยว่า “บานเย็น” หรือในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า “ดอกสีโมง” (Four o’clock flower) เมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอม ส่วนในประเทศจีนจะเรียกดอกบานเย็นว่า “ดอกสายฝน” (Shower flower) หรือเรียกว่า “ดอกหุงข้าว” (Rice boiling flower) สำหรับในฮ่องกง จะเรียกดอกบานเย็นว่า “มะลิม่วง” (Purple jasmine) และความน่าสนใจของดอกบานเย็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นไม้ดอกที่สามารถมีดอกได้หลายสีอยู่บนต้นเดียวกันพร้อมๆ กันได้ แต่ละดอกอาจมีหลายสีปนกันอยู่ก็ได้ และดอกยังสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น เช่น พันธุ์ดอกเหลือง จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม หรือพันธุ์ดอกขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อน เป็นต้น[7]
ประวัติส่วนตัว
ประวัติส่วนตัว
นางสาว ลลิตา ทองสวัสดิ์ ชื่อเล่น เคียงฟ้า
ปัจจุบันศึกษาอยู่โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 3
ที่อยู่ 53/1 ม.5 ถ.เลี่ยงเมือง ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
อาหารที่ชอบ ข้าวผัดปู วิชาที่ชอบ ภาษาอังกฤษ
อนาคตอยากศึกษาต่อมหาลัยธรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
คติประจำใจ รากฐานของบ้านคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือ การศึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)