วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบานเย็น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบานเย็น

  1. สารสกัดที่ได้จากใบ (เรซิน) มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ และมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย[6]
  2. ส่วนรากก็มีสารเรซินที่มีฤทธิ์ระคายเยื่อเมือก เยื่อบุผนังลำไส้[6]
  3. ดอกมีกลิ่นหอมฉุน อาจทำให้เกิดอาการมึนเมาได้ จึงสามารถใช้ไล่ยุงและแมลงได้[6]
  4. น้ำสกัดจากใบหรือทั้งต้น เมื่อนำมาใส่เอทานอลลงไปจะตกตะกอน แล้วกรองเอาน้ำสกัดที่ได้จะมีตัวยาเทียบเท่ากับยาสด เมื่อนำมาใช้ฉีดกระต่าย มีผลทำให้หัวใจกระต่ายเต้นเร็วขึ้นมีการบีบตัวแรงขึ้น แต่กลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว เมื่อนำมาฉีดเข้าไปในหลอดเลือนแมว พบว่ามีความดันเลือดสูงขึ้นประมาณ 75% และจะกลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ฤทธิ์ดังกล่าวจะไม่มีผลอะไรต่อลำไส้เล็กของหนูตะเภา ส่วนลำไส้เล็กของกระต่ายจะมีผลเป็นการยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้เล็ก และจากการตรวจสอบทางเคมีของน้ำสกัดจะไม่พบสารอัลคาลอยด์[6]
  5. นักวิจัยฮ่องกงได้ทำการแยกสาร MAPs อีกตัวหนึ่งที่อยู่ในรากของบานเย็น โดยพบว่ามีฤทธิ์เป็น Antiviral และยังพบว่ามีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนู, ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ยับยั้งการเจริญเติบโตของ Tumor cell และรบกวนกระบวนการอื่นๆ ในเซลล์ของไวรัส และยังพบว่าในส่วนของเมล็ดมี Peptide บางชนิดที่มีฤทธิ์คล้ายกับพิษแมงมุม[9]
  6. ในปี 2001 นักวิจัยได้ค้นพบสารประกอบ Phenolic ที่มีฤทธิ์ต้าน Candida albican เมื่อทดลองในหลอดทดลอง และจากการสกัดดอก ใบ และรากด้วยน้ำร้อนจะได้สารที่ออกฤทธิ์เป็น Antifungal ในการทดลองอื่นๆ และในการวิจัยอื่นๆ ในส่วนของใบบานเย็นและกิ่งก้านของต้นไม่มีการยืนยันว่ามีฤทธิ์ Antimicrobial ดังนั้นคุณสมบัตินี้อาจมีอยู่แค่เพียงในรากเท่านั้น[9]
  7. สารสกัดจากส่วนรากด้วยน้ำและ Ethanol จะแสดงฤทธิ์ Mild uterine stimulant ในหนูทดลอง และ Antispasmodic ใน Guinea pigs[9]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น